ศรีลังกา ไม่ขวาตามเทรนด์โลก เลี้ยวซ้ายหามาร์กซิสต์ แก้วิกฤติเศรษฐกิจ

ศรีลังกา เลี้ยวซ้ายหามาร์กซิสต์ ใช้แนวคิดคอมมิวนิสต์แก้วิกฤติเศรษฐกิจ

ศรีลังกา เลี้ยวซ้ายหามาร์กซิสต์ ใช้แนวคิดคอมมิวนิสต์แก้วิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อการเมืองสองพรรคใหญ่ไม่อาจเป็นความหวังแก่ชาวศรีลังกา ผลเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันเสาร์คือการเปิดศักราชใหม่ของแนวทางมาร์กซิสต์ในประเทศ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี 1948 และสวนทางกับเทรนด์การเมืองโลกที่พรรคฝ่ายขวาได้รับความนิยมมากขึ้น บาคาร่า png

อนุรา กุมารา ดิสสานายาเก นักการเมืองฝ่ายซ้ายสายมาร์กซิสต์ หัวหน้าพรรคแนวร่วมปลดปล่อยประชาชน (Janatha Vimukthi Peramuna: JVP)  และผู้นำกลุ่มพันธมิตรพลังประชาชนแห่งชาติ (National People’s Power: NPP) ประกาศชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกา ที่จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2024 บาคาร่า เล่นยังไง

ศรีลังกา

โดยผลการเลือกตั้งเบื้องต้น อนุราได้คะแนนเสียงนำมาเป็นอันดับที่ 1 ที่ 42.31 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วย สาชิต เปรมทาส ผู้นำฝ่ายค้าน 32.76 เปอร์เซ็นต์ เมื่อไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องตัดสินกันด้วยการนับคะแนนรอบสอง ซึ่งในบัตรเลือกตั้ง ประชาชนจะเลือกได้ 3 อันดับ รอบนี้จึงนับคะแนนการเลือกในอันดับ 2 และ 3 ด้วย

ผลปรากฏว่า อนุรา ชนะไปด้วยคะแนน 5,740,179 คะแนน ส่วนสาชิตตามมาที่ 4,530,902 คะแนน ชัยชนะของพรรค JVP และแนวร่วม NPP นับเป็นครั้งแรกในรอบ 76 ปี ตั้งแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ

แนวร่วม NPP เป็นกลุ่มพันธมิตรแนวมาร์กซ์-เลนิน ที่ประกอบด้วยกลุ่มประชาสังคม ผู้เชี่ยวชาญ นักบวช และนักศึกษา รวมถึงพรรค JVP ซึ่งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ติดอาวุธที่ก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลศรีลังกาถึง 2 ครั้งในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุจลาจล ความรุนแรง และการลอบสังหารที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนระหว่างปี 1987-1989 ในปัจจุบัน JVP มีที่นั่งในรัฐสภาเพียง 3 ที่นั่ง

ผู้นำคนใหม่ของศรีลังกาวัย 55 ปี ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองกับพรรค JVP โดยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการกลางของพรรคในปี 1997 และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค JVP ในปี 2008

ในการหาเสียงเลือกตั้ง เขานำเสนอตัวเองว่า ‘ผมมาเพื่อเปลี่ยนแปลง’ มาเพื่อปั่นป่วนสถานะเดิมซึ่งสนับสนุนการทุจริตและการเล่นพรรคเล่นพวกในหมู่ชนชั้นนำทางการเมืองของสองพรรคการเมืองหลักของชาวสิงหลอย่างพรรคเสรีภาพศรีลังกา (Sri Lanka Freedom Party: SLFP) กับพรรคสหชาติ (United National Party: UNP) ในแนวทางซ้ายกลางและขวากลางที่ผลัดกันแพ้ชนะมาจนถึงช่วงปี 2016

ศรีลังกามีปมความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์ระหว่างสิงหลกับทมิฬ เหตุการณ์ปะทุขึ้นจากการสังหารทหาร 13 คน เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ปี 1983 โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam)

ทางตอนเหนือของประเทศ หลังจากนั้นเกิดการแก้แค้นจากชาวสิงหลที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ส่งผลให้มีชาวทมิฬเสียชีวิตระหว่าง 400-3,000 ราย นำไปสู่สงครามกลางเมืองยาวนานเกือบ 30 ปี ต่อมาเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่า Black July

สงครามกลางเมืองสิ้นสุดเมื่อปี 2009 เนื่องจากความพ่ายแพ้ของชาวทมิฬ ในปี 2014 อนุราได้กล่าวขอโทษต่อเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงที่เรียกว่า ‘ฤดูแห่งความหวาดกลัว’

“เรายังคงตกใจกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากฝั่งเราซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น เรายังเสียใจและตกใจกับเรื่องนี้เสมอมา”

ถือว่าความนิยมในตัวอนุราพุ่งขึ้นอย่างมาก หากเทียบกับการเลือกตั้งปี 2019 ที่เขาลงเลือกตั้งในนามพรรค JVP และได้เสียงสนับสนุนเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่โกตาบายา ราชปักษา กับพรรคฝ่ายขวา

ประชานิยมอย่างโพดูจานา เปรามุน ( Sri Lanka Podujana Peramuna: SLPP) ของตระกูลราชปักษา ที่แยกตัวมาจากพรรค SLFP แล้วได้รับคะแนนเสียงท่วมท้นแบบแลนด์สไลด์ 

 

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *